อย่างที่รู้กันว่าแสงแดดของประเทศไทยมันร้อนระอุระดับที่ว่าหากคนทั่ว ๆ ไปต้องตากแดดเป็นเวลานานอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติเอาได้เลย จึงไม่ใช่แค่คนเท่านั้นที่ต้องการร่มเงาเพื่อให้ได้รับความร้อนที่น้อยลง บรรดาพืชผักทางการเกษตรต่าง ๆ เองก็เช่นกัน จึงมักเห็นว่าไร่สวนหลาย ๆ แห่งจะมีการใช้ ตาข่ายพลางแสงแดด เพื่อลดความรุนแรงไม่ให้มาสัมผัสกับตัวพืชมากเกินไปนัก สำหรับเกษตรกรมือใหม่หลาย ๆ คนที่เริ่มหันมาเอาดีในธุรกิจด้านนี้ก็จำเป็นต้องรู้ด้วยเช่นกันว่าทำไมจึงควรเลือกใช้งาน และความแตกต่างระหว่างแปลงที่ใช้กับไม่ใช้ ตาข่ายพลางแสงแดด ได้ผลผลิตต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ตาข่ายพลางแสงแดด อุปกรณ์เกษตรที่ห้ามมองข้ามสำหรับเกษตรกร
ลักษณะของตาข่ายประเภทนี้บางคนก็เรียกว่า ตาข่ายกรองแสง, สแลน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจะใช้คำไหนแต่ความหมายก็เหมือนกันนั่นคือ พลาสติกที่ถูกนำมาทำเป็นผืนขนาดใหญ่เพื่อช่วยบดบังแสงแดดไม่ให้สัมผัสถึงตัวพื้นดินมากจนเกินไป มีสีให้เลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ เช่น สีดำ, สีเขียว ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ 2 สีนี้มาจากแสงที่ทะลุผ่านเข้ามาจะไม่ถูกตัดทอนความยาวออกไป (โดยเฉพาะแสงสีแดงและสีน้ำเงิน) ส่งผลให้ต้นไม้ยังคงสังเคราะห์แสงได้ดี แต่ที่ส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าสีเขียวถูกใช้เยอะกว่าเพราะสีดำยังคงเป็นสีที่กักเก็บความร้อนไว้ในระดับหนึ่งเมื่อพลาสติกสัมผัสกับความร้อนเป็นเวลานานจึงทำให้กรอบและพังเสียหายง่ายกว่าเท่านั้นเอง การเลือกใช้งานก็มีเปอร์เซ็นต์ที่สามารถกรองแสงเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานด้วย โดยระดับของเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวจะมี 50%, 60%, 70% และ 80%
ทำไมจึงต้องเลือกใช้ ตาข่ายพลางแสงแดด กับการทำเกษตร
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจในการนำอุปกรณ์นี้มาใช้งาน หลัก ๆ แล้ว ตาข่ายพลางแสงแดด จะถูกนำมาใช้งานเกี่ยวกับการเกษตรหลายด้านโดยเฉพาะการทำหลังคาโรงเรือนจำพวกปลูกเห็ด, พืชผัก, ไม้ดอกหลายประเภท, หลังคากันแดดสำหรับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือทำเป็นรั้วกั้น ฯลฯ ทั้งนี้เหตุผลที่ต้องเลือกใช้ ตาข่ายพลางแสงแดด ประกอบไปด้วย
-
ป้องกันรังสียูวีและแสงแดดที่ส่องลงมา – ต้องเข้าใจว่าพืชผักหรือไม่ดอกหลาย ๆ ชนิดไม่ชอบอยู่ในพื้นที่แสงแดดจัดจนเกินไปนักเพราะจะทำให้เหี่ยวเฉา ได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ไม่ได้ปริมาณผลผลิตตามต้องการ ดังนั้นการใช้ตาข่ายมาช่วยลดปริมาณแสงแดดและรังสียูวีจะช่วยให้พืชผักหรือไม้ดอกดังกล่าวได้สำหรับปริมาณแสงแดดที่กำลังพอดี ไม่ร้อนมากจนเกินไป และผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพ ปริมาณเยอะตามที่คาดหวังไว้ ยกตัวอย่าง กวางตุ้ง, คะน้า ต้องการแสงแดดที่พอดีไม่ร้อนหรือร่มมากจนเกินไป ในขณะที่ ต้นหอม, ผักชี, กล้วยไม้, ขิง, ข่า ต้องการแดดเพียงรำไร การเลือกเปอร์เซ็นต์ของสแลนจึงต่างกัน
-
ช่วยระบายความร้อนได้ดี – ไม่ใช่แค่การป้องกันแสงแดดเท่านั้นแต่ยังช่วยในเรื่องการระบายความร้อนจากพื้นดินได้ด้วย สมมุติถ้าเลือกใช้เป็นผ้าใบไปเลยนอกจากแสงที่ได้รับจะไม่เพียงพอความร้อนที่อบอวลอยู่ภายในพื้นดินเมื่อแผ่ออกมาก็ไม่สามารถระบายไปทางไหนได้ ท้ายที่สุดผลิตผลทางการเกษตรก็ไม่ได้ปริมาณและคุณภาพตามต้องการเหมือนเดิม อีกทั้งยังติดสปริงเกอร์เพื่อสามารถรดน้ำได้แบบอัตโนมัติในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
-
ลดต้นทุนการผลิต – เนื่องจากการใช้สแลนจะช่วยควบคุมความร้อน อุณหภูมิ, การถ่ายเทของอากาศ, ความชื้น รวมถึงปริมาณจากน้ำฝนได้ดีกว่าการปลูกบนพื้นที่โล่ง ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้พืชเติบโตดีกว่าปกติ ปุ๋ยไม่ต้องใส่เยอะ, น้ำไม่ต้องรดบ่อย จึงช่วยเซฟต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ได้กำไรมากกว่าเดิม
-
ป้องกันศัตรูพืชได้ – อย่างโรคราน้ำค้างอันเกิดจากพืชผลที่ปลูกกลางแจ้งเจอกับความชื้นของน้ำค้าง แม้พืชนั้นจะไม่ตายแต่เกิดความเสียหายเยอะ เช่น ใบไม่สวย, โตช้า, น้ำหนักไม่ดี จึงทำให้ขายไม่ค่อยได้ราคา หรือ โรคราใบจุดที่มักมากับสายลมและแมลง เมื่อเลือกใช้ ตาข่ายพลางแสงแดด จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคนี้ได้