-->

🚚จัดส่งฟรี !! เมื่อซื้อสินค้าครบ ฿1000 ขึ้นไป‼🚚

พิเศษ สั่งซื้อสินค้า ฿5000 ขึ้นไป สามารถ ผ่อนชำระบัตรเครดิต
สูงสุด 0% | 10 เดือน !!!

สั่งของได้ ส่งของได้ตามปกติค่ะ ^^

4 โรคร้ายแรงบ่อนทำลายเมล่อน

🍈4 โรคร้ายแรงบ่อนทำลายเมล่อน🍈

 

เนื่องจากเมล่อน หรือ แคนตาลูปเป็นพืชที่ค่อนข้าง “เซ้นซิทีฟฟฟฟ” หรือ อ่อนไหวต่อการเกิดโรคพืชได้ง่ายๆ วันนี้จะขอนำเสนอโรคที่มักพบบ่อยในเมล่อนนะครับ

 

⛔โรคราน้ำค้าง⛔

 

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อที่ขื่อว่า “ซูโดเปโรนอสโปร่า” (Pseudoperonospora) อาการที่จะเกิดขึ้น คือ จะมีจุดสีเหลือง หรือ

 

จุดสีน้ำตาลขนาดเล็กก่อนที่จะขยายใหญ่ขึ้นจนเต็มใบในที่สุด

 

จุดสังเกตที่ชัดเจน คือ ใต้ใบนั้นจะเห็นเส้นใบเชื้อราสีขาว และ เมื่อเมล่อนเกิดโรคนี้ และ มีอาการรุนแรงขึ้น เมล่อนจะแห้งตายในที่สุด

 

วิธีป้องกันโรคราน้ำค้าง

ใช้ยากันเชื้อรา ฉีดป้องกันทุกสัปดาห์ หรือ หากเกิดโรคแล้วให้ถอนทิ้ง และ นำไปเผาทำลายอย่างรวดเร็วที่สุด

⛔โรคใบด่าง⛔

 

เกิดจากเชื้อไวรัสเมล่อน ที่ชือว่า โมเสค พาหะของโรคใบด่าง คือ แมลงวันปากดูด

 

อาการของโรคนี้

💥ใบนั้นจะมีอาการหงิกงอ

💥ใบอ่อนจะไม่เติบโต

💥ต้นจะไม่ออกดอก

 

วิธีป้องกันโรคใบด่าง

 

ฉีดสารเคมีกำจัดแมลวันปากดูดเป็นระยะๆ (ไม่ควรฉีดช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต)

 

หากพบว่าเป็นโรคนี้ ควรถอนทิ้งทันที และ นำไปเผาทำลายอย่างรวดเร็วที่สุด

 

⛔โรคเน่าคอดิน⛔

 

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีที่ชื่อว่า “ไพธอปโธร่า”

 

มักเกิดในเมล่อน ระยะที่เป็นต้นกล้า หรือ เมล่อนที่ย้ายลงปลูกใหม่ เนื่องจากดินมีความชื้นสูง

 

โคนต้นจะมีรอยช้ำ และ เน่าบริเวณคอดิน

วิธีป้องกันโรคเน่าคอดิน

ก่อนปลูกควรมีการคลุกเคล้าสารเคมีกำจัดโรคนี้กับเมล็ดที่ต้องการเพาะก่อนเพาะ

หากพบว่าเป็นโรคนี้ ควรถอนทิ้งทันที และ นำไปเผาทำลายอย่างรวดเร็วที่สุด

⛔โรคแอนแทรคโนส⛔

 

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีที่ชื่อว่า “คอนเลคโทรตริคัมโกลอีออสโปริโอเดส”

 

ลักษณะอาการจะเห็นเป็นจุดช้ำๆ เมื่อแผลขยายใหญ่ชึ้น จะเห็นแผลกลมสีน้ำตาลแดง

 

มีสีขาวตรงกลางผล อาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบ จะเกิดเป็นรูปวงกลม หรือ วงรีสีน้ำตาลไหม้

 

ถ้าเป็นที่กลางใบจะเห็นแผลค่อนข้างกลม ถ้าเกิดที่ปลายใบแผลจะลามมาที่โคนใบ

 

เชื้อราโรคนี้ จะชอบความชื้นสูง ฉะนั้นเราจะพบโรคนี้ระบาดบ่อยในช่วงหน้าฝน

สามารถแพร่กระจายไปกับ ลม ฝน หรือ น้ำที่ใช้รดต้นเมล่อนได้ด้วย

 

วิธีการป้องกันโรคแอนแทรคโนส

 

ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช ได้แก่ แมนโคเซบ หรือ แคปแทน หรือ คาร์เบนดาซิม

ฉีดตามอัตราที่ระบุในฉลากฉีดพ่น เมื่อพบโรค ฉีดทุก 7- 10 วัน

 

หากพบว่าเป็นโรคนี้ ควรถอนทิ้งทันที และ นำไปเผาทำลายอย่างรวดเร็วที่สุด

อ้างอิง: ราชินีพืชตระกูลแตง

 

 

การปลูกเมล่อนที่ปลอดภัย สามารถปลูกได้ในโรงเรือน ประกอบไปด้วย

พลาสติกคลุมโรงเรือน มุ้งกันแมลงโรงเรือน คลิ๊ปล็อคโรงเรือน รางล็อคสปริงโรงเรือน